ศาสนศาสตร์เชิงปรัชญาคืออะไร?
ศาสนศาสตร์เชิงปรัชญาเป็นสาขาหนึ่งของศาสนศาสตร์ที่ใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นเกี่ยวกับความจริงของพระเจ้า มีการถกเถียงกันไม่ว่าจะหลักศาสนศาสตร์และหลักปรัชญานั้นทั้งคู่ต้องมีส่วนร่วมกับความพยายามของมนุษย์ที่ไม่ว่าจะมาถึงความจริง หรือพระเจ้าสามารถเปิดเผยได้ หรือควรยืนหยัดได้ด้วยตัวเอง ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมามีทฤษฎีที่แตกต่างกันมากมายในเรื่องระบบปรัชญาอย่างกว้างขวางว่าควรนำมาใช้กับแนวคิดทางศาสนศาสตร์ได้อย่างไร บางคนบอกว่าทั้งสองต้องแยกออกจากกันอย่างแน่นอนเพราะว่าทั้งสองไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกัน คนอื่นๆ กล่าวว่าปรัชญาและเหตุผลเป็นสิ่งที่จำเป็นหากมนุษย์จะเข้าใจการเปิดเผยของพระเจ้าอย่างถูกต้อง คนอื่นๆ ยังคงใช้วิธีระดับปานกลางในการกล่าวว่าปรัชญาเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์แต่ไม่ควรพึ่งพาทั้งหมด
ศาสนศาสตร์เชิงปรัชญาเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 และ 19 เมื่อนักคิดลัทธิปฏิฐานนิยม นักคิดสมัยใหม่และนักคิดยุคเรืองปัญญาได้โจมตีศาสนาคริสต์ นักเทววิทยาต้องการวิธีที่จะอธิบายและปกป้องความเชื่อของตนและพบว่าพวกเขาสามารถใช้วิธีการทางปรัชญาเพื่อปกป้องการเปิดเผยของพระเจ้า การใช้ปรัชญาเพื่อวิเคราะห์และอธิบายศาสนศาสตร์ไม่ใช่ว่าไม่เคยมีมาก่อน โทมัส ควีนาส (Thomas Aquinas), ออกัสติน (Aristotle) และนักศาสนศาสตร์ในยุคแรกได้ใช้แนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) และโสกราตีส (Socrates) ในงานเขียนของพวกเขาเพื่อพยายามที่จะใช้คิดทบทวนและทำความเข้าใจแนวคิดที่ได้นำเสนอไว้ในพระคัมภีร์
ผู้ที่แก้ต่างในปัจจุบันหลายคนยังคงใช้ข้อโต้แย้งทางปรัชญา ยกตัวอย่างเช่น การอ้างเหตุผลเชิงอันตวิทยาและการอ้างเหตุผลเชิงภววิทยามีรากฐานอย่างหนักแน่นมาจากศาสนศาสตร์เชิงปรัชญา
พระคัมภีร์กล่าวว่าการแสวงหาเรื่องราวหรือการค้นหาความจริงที่พระเจ้าทรงปกปิดนั้นเป็นเรื่องที่น่าสรรเสริญ (สุภาษิต 25:2) เราได้รับความสามารถในการใช้เหตุผลและไม่มีอะไรผิดในการเรียนปรัชญา ในขณะเดียวกันเราต้องระมัดระวัง มีความอันตรายด้านจิตวิญญาณมากมายในการศึกษาปรัชญา พระเจ้าเตือนเราให้ "จงหลีกหนีจากการพูดคุยอันไร้สาระ และความคิดขัดแย้งที่สำคัญผิดว่าเป็นความรู้" (1 ทิโมธี 6:20) ทฤษฎีที่มนุษย์สร้างขึ้นและการคาดเดาของมนุษย์ไม่สามารถเพิ่มคุณค่าใดๆ ให้กับพระคำของพระเจ้าที่มีเพียงพอจะจัดเตรียมเรา "สำหรับการดีทุกอย่าง" (2 ทิโมธี 3:16–17) โยบและเพื่อนทั้งสามของเขาพยายามเข้าใจวิถีทางของพระเจ้าผ่านทางการใช้เหตุผลของมนุษย์และล้มเหลว ในท้ายที่สุดพระเจ้าบอกพวกเขาว่าพวกเขาปิดบังการเปิดเผยโดย "ถ้อยคำที่ปราศจากความรู้" (โยบ 38:2)
ศาสนศาสตร์เชิงปรัชญาเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ในทางที่ถูกหรือทางที่ผิดได้ เป็นคำถามเกี่ยวกับแรงจูงใจและลำดับความสำคัญคือ ถ้าเราพยายามเข้าใจวิถีทางและความคิดของพระเจ้าโดยอาศัยโครงสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นเราจะรู้สึกผิดหวัง มนุษย์พยายามพิสูจน์ความสามารถของเขาในการไปถึงพระเจ้านับตั้งแต่หอบาเบล แต่หากได้รับแรงบันดาลใจจากความรักและความปรารถนาที่จะรู้จักพระเจ้า เราก็จะใช้ความคิดของเราเพื่อทำความเข้าใจพระวจนะของพระองค์ให้ดีขึ้นการศึกษาของเราก็จะได้รับรางวัล ตัวปรัชญาเองนั้นมันไม่ได้เป็นความจริง แต่อยู่ภายใต้ความจริง ปรัชญาสามารถกลายเป็นเครื่องมือในการเข้าใจความจริงได้ดีขึ้น พระวจนะของพระเจ้าที่ได้รับการดลใจและไม่มีความผิดเลยมีความสำคัญสูงสุด ส่วนปรัชญาใดๆ ของมนุษย์ต้องเป็นรองลงมา พระคัมภีร์เป็นตัวตัดสินปรัชญาของเรา ไม่ใช่ในทางกลับกัน (ดูฮีบรู 4:12)
กลับสู่หน้าภาษาไทย
ศาสนศาสตร์เชิงปรัชญาคืออะไร?
ncG1vNJzZmivp6x7qLvTqqyeq6SevK%2B%2FjaipoGeEna6qe7OhmKJloJ22rbvSqKehoZOWuW7Ax56mpaeXrnupwMyl